ขณะที่ท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)ไปถึงยังนครมาดีนะห์ บะเกี๊ยะอ์ยังเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยต้นไม้ ในระหว่างที่ดำเนินการสร้างมัสยิดนะบาวีย์ ที่ซื้อที่ดินมาจากเด็กย่าตีม(เด็กกำพร้า) ปรากฎว่าท่านอัสอัดบินซ่ารอเราะห์ ซึ่งเป็นซอฮาบะห์ของท่านนบีได้เสียชีวิต ท่านนบีมูฮัมมัดจึงเลือกบะเกี๊ยะอ์เป็นสถานที่ฝังโดยทันที ท่านอัสอัดบินซ่ารอเราะห์จึงเป็นคนแรกของชาวอันศอรที่ได้ถูกฝังที่ กุโบร์บะเกี๊ยะอ์ ต่อมาท่านอุสมานบินมัซอูนได้เสียชีวิตและถูกฝังที่กุโบร์บะเกี๊ยะอ์ ถูกนับว่าเป็นซอฮาบะห์คนแรกจากชาวมุฮายีรีนที่ถูกฝังที่กุโบร์บะเกี๊ยะอ์ และในเวลาต่อมาท่านอุสมานบินอัฟฟานได้ถูกฝังในสถานที่ที่ใกล้กับกุโบร์บะเกี๊ยะอ์ ที่ท่านอุสมานได้ซื้อที่นั้นมาจากชายชาวอันศอรคนหนึ่ง กุโบร์บะเกี๊ยะอ์ได้รับการขยายบริเวณครั้งแรกในสมัยราชวงศ์มุอาวียะห์ โดยได้รับคำสั่งมาจากท่านมุอาวียะห์ บิน อาบีซุฟยาน ซึ่งเป็นผู้นำคนแรกของราชวงศ์มุอาวียะห์ ในการขยาย กุโบร์บะเกี๊ยะอ์ครั้งนี้เพื่อเป็นเกียรติกับท่านอุสมานบินอัฟฟาน และเพื่อเป็นเกียรติแก่ราชวงศ์มุอาวียะห์ ภาพกุโบร์บะเกี๊ยะอ์
สงครามคอนดัก มีอีกชื่อหนึ่ง คือ สงครามอัลอะห์ซาบ สาเหตุการตั้งชื่อนี้ เพราะได้มีเผ่าต่างๆจากพวกมุชริก และพวกยะฮูดได้เข้าร่วมกันทำสงครามกับฝ่ายมุสลิม ดังปรากฎในอัลกุรอานว่า ความว่า โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงรำลึกถึงความโปรดปราณของอัลเลาะห์ที่มีต่อพวกเจ้า ขณะที่กองทัพข้าศึกเข้ามารุกรานพวกเจ้า แล้วเราได้ส่งลมพายุพัดใส่พวกเขา และกำลังทหารที่พวกเจ้ามองไม่เห็น และอัลเลาะห์ทรงเห็นสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ กองกำลังทหารของฝ่ายมุชริกนั้นมีจำนวนถึง 10,000นาย ขณะที่กองกำลังทหารมุสลิมมีจำนวนอยู่เพียงแค่ 3,000 นาย สงครามครั้งนี้บ้างเรียกว่า สงครามคอนดัก (สนามเพลาะ) เพราะเหตุว่า ในขณะที่ฝ่ายมุสลิมรู้ว่าฝ่ายพันธมิตรกำลังมุ่งหน้ามา ท่านซัลมานอัลฟาริซี่ย์ ได้ชี้แนะท่านนบีเกี่ยวกับการขุดสนามเพลาะรอบเมืองมาดีนะห์ เพื่อเพิ่มความยากลำบากแก่ฝ่ายมุชริกที่จะบุกเข้ามา เมื่อฝ่ายมุชริกได้มาถึง พวกเขาพบว่ามีสนามเพลาะขวางหน้าอยู่ พวกเขาจึงได้ตั้งค่ายอยู่หน้าสนามเพลาะเป็นเวลา 15 วัน หลังจากนั้นอัลเลาะห์ส่งลมพายุที่รุนแรงมายังฝ่ายมุชริก ลมพายุนั้นมันได้ถอนเต้นท์ของพวกเขาออกไปและทำให้เกิดความตื่นตระหนกในหัวใจของพวกเขา … Continued
เมื่อสงครามกุเรชประสบกับความปราชัยในสงครามบัดร์จึงทำให้ไม่มีความปลอดภัยในการเดินทางไปค้าขายยังประเทศชาม ทำให้เศรษฐกิจของชาวกุเรชมักกะห์ประสบความชะงัก บรรดาผู้นำในเผ่ากุเรชจึงได้จัดการประชุมกับอบูซุฟยาน โดยกล่าวว่า มูฮัมมัดได้ฆ่าพวกเรา เราพอใจที่จะสละผลกำไรในทรัพย์สินของเรา เพื่อเป็นกองทัพเพื่อทำสงครามกับมูฮัมมัดหรือไม่? พวกเขารวบรวมทรัพย์สินได้ 5,000 ดีนาร และรวบรวมกำลังทหารได้จำนวน 3,000 คน และยกกองทัพมุ่งหน้าไปเมืองมาดีนะห์โดยตั้งค่ายอยู่ที่ทุ่งด้านเหนือของเมืองมาดีนะห์ ใกล้กับภูเขาอุฮุด เมื่อท่านนบีมูฮัมมัดได้เห็นข้าศึกมาตั้งค่ายอยู่ใกล้กับกำแพงเมืองมาดีนะห์ ท่านจึงได้ปรึกษากับบรรดาซอฮาบะห์ บางคนมีความเห็นว่า ควรจะอยู่ภายในเมืองเพื่อป้องกันเมืองไว้ บางคนมีความเห็นว่า ควรจะออกไปทำสงครามกับข้าศึกภายนอกเมือง จนกระทั่งวันศุกร์เมื่อได้ละหมาดญุมอะห์เรียบร้อยท่านจึงได้สวมเสื้อเกราะเพื่อเตรียมทำสงคราม บรรดามุสลิมจึงรู้ว่าท่านนบีจะออกไปทำสงคราม จึงได้ตระเตรียมสัมภาระเพื่อออกไปทำสงครามร่วมกับท่านนบี จำนวนทหารมุสลิมทั้งหมดมี 1,000 คน เมื่อท่านนบีนำบรรดามุสลิมเดินออกไปนอกเมืองมาดีนะห์ อับดุลเลาะห์ อิบนิ อุบัย หัวหน้าของพวกมุนาฟิกีนก็ได้นำทหารจำนวน 300 คน เดินทางกลับเข้าเมืองมาดีนะห์ กองทัพมุสลิมจึงเหลือทหารเพียงแค่ 700 คน … Continued
ขณะที่ท่านนบีมูฮัมมัด (ศ็อลฯ) และท่านอบูบักรได้เดินทางออกจากถ้ำซูร โดยการนำทางของอับดุลเลาะห์บินอุรอยกิฏ ซึ่งเขาเป็นผู้ชํานาญทางและเป็นคนซื่อสัตย์ในระหว่างการเดินทาง พวกเขาได้พบกับ ซุรอเกาะห์ บิน มาลิก ซึ่งเขาต้องการที่พยายามสังหารท่านนบี โดยการที่เขาไล่ตามท่านนบีมา แล้วใช้ดาบฟันท่านนบี ครั้งแรกพลาดจนม้าของเขาเสียหลักล้มไป ครั้งที่สองและสามพลาดแบบเดิมอีกเช่นกัน จนกระทั่งเขาเลิกล้มความตั้งใจไป หลังจากนั้นท่านนบีมูฮัมมัดและท่านอบูบักรและอับดุลเลาะห์ บิน อุรอยกิฏ ได้เดินทางเรื่อยมาจนกระทั่งถึงตำบลกุบาอ์ ในวันจันทร์ที่ 12 ตรงกับ เดือนร่อบิอุลเอาวัล และท่านได้พํานักอยู่ที่ตําบลกุบาอ์ ณ บ้านของบนีอัมร์ บิน เอาฟ์ และอยู่ที่กุบาอ์ เป็นเวลา 14 วันในระหว่างนั้นท่านนบี (ศ็อลฯ)ได้สร้างมัสยิดกุบาอ์ขึ้นซึ่งเป็นมัสยิดที่ถูกสร้างขึ้นหลังแรกในอิสลาม ท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า ผู้ใดที่อาบน้ำละหมาดจากบ้านของเขา แล้วเขาได้ไปยังมัสยิดกุบาอ์ แล้วทำการละหมาด เขาจะได้รับผลบุญ เท่ากับการทำอุมเราะห์หนึ่งครั้ง … Continued
หลังจากที่ท่านนบีมูฮัมมัดและท่านอบูบักร ได้เดินทางถึงนครมาดีนะห์ ทุกครั้งที่เขาทั้งสองเดินผ่านบ้านของชาวอันศอร ชาวอันศอรจะเชื้อเชิญให้ท่านทั้งสองพำนักอยู่กับพวกเขา ท่านนบีมูฮัมมัดจึงกล่าวกับชาวอันศอรว่า ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของอูฐมัน มันได้ถูกสั่งใช้มาแล้ว จนกระทั่งอูฐได้มาคุกเข่าหยุดอยู่ในที่ๆหนึ่งซึ่งเป็นของเด็กยาเต็ม(เด็กกำพร้า) ซึ่งตอนนี้เป็นมัสยิดในปัจจุบัน และท่านนบี (ศ็อลฯ)ได้พํานักอยู่กับอบูอัยยูบอัลอันศอรีย์ เป็นเวลา 7 เดือน จนกระทั่งสร้างมัสยิดและห้องนอนของบรรดาอุมมุลมุอ์มินีน (ภรรยาของท่านนบี) แล้วเสร็จ และนี่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างมัสยิดในอิสลาม เพราะท่านนบีมูฮัมมัด (ศ็อลฯ)ได้เริ่มด้วย กับการสร้างมัสยิดเป็นสิ่งแรก ไม่ว่าจะเป็นกุบาอ์ หรือที่มาดีนะห์ก็ตาม เพราะมันคือสถานที่ชุมนุมของมุสลิม และเป็นโรงเรียนแห่งแรกในอิสลาม และจะยังคงเป็นเช่นนั้นตลอดไป จนกระทั่งอัลลอฮ์ ทรงรับเอาโลกใบนี้และสิ่งที่อยู่บนมันกลับไป … Continued
ยะอ์รอนะห์ เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ชานเมืองมักกะห์ ห่างออกไปทางด้านเมืองตออีฟราว 26 กิโลเมตร ในอดีตเป็นสถานที่ที่ท่านนบีแวะแบ่งปันทรัพย์เชลยศึกที่ได้จากการทำสงครามกับพวกฮาวาซิน ท่านเคยแบ่งปันแก่กองทหารของท่านที่นี่ ยะอ์รอนะห์เป็นมีกอตหนึ่งที่ท่านนบีเคยเหนียตครองเอี๊ยะรอมอุมเราะห์ ยะอ์รอนะห์ถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในสามมีกอต ที่อัลเลาะห์ตาอาลากำหนดมาเพื่อให้เป็นสถานที่สำหรับเหนียตครองเอี๊ยะรอมอุมเราะห์ ท่านนบีมูฮัมมัดได้กล่าวว่า บุคคลที่ไปเหนียตเอี๊ยะรอมอุมเราะห์ ณ ที่ยะอ์รอนะห์ เขาจะได้รับผากผลเท่ากับการทำอุมเราะห์สองครั้ง ภาพมัสยิดยะอ์รอนะห์
มัสยิดฮุดัยบียะห์ ห่างจากมัสยิดอัลฮะรอมประมาน 24 กิโลเมตร สาเหตุที่เรียกว่าฮุดัยบียะห์เนื่องจากว่า ใช้ชื่อของบ่อน้ำฮุดัยบียะห์ที่อยู่ใกล้กับต้นไม้ที่ท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)ทำการให้สัตยาบันภายใต้ต้นไม้นั้น และฮุดัยบียะห์ตั้งอยู่ที่ทิศตัวตกของนครมักกะห์ และอยู่ภายนอกเขตฮะรอม หลังจากบรรดามุสลิมได้อพยพมาอยู่ที่มะดีนะฮ์ 6 ปี พวกเขาถูกตัดขาดมิให้เยี่ยมเยือนมัสยิดอัลฮะรอม และการฏอวาฟที่บัยตุลเลาะห์ ท่านนบีได้ฝันเห็นว่าท่านและบรรดาซอฮาบะฮ์ทำการตอวาฟอุมเราะห์ ท่านนบี ได้คาดการณ์แล้วว่าพวกกุเรชจะขัดขวางมิให้เข้าสู่มักกะห์ ท่านจึงพยายามรวบรวมมุสลิมให้ได้มากที่สุด มีบรรดามุสลิมีนที่ไปพร้อมกับท่านถึง 10,400 คน และได้แสดงให้ชาวกุเรชเห็นว่าเจตนาของท่านนั้นบริสุทธิ์ใจ มิได้ออกไปเพื่อทำสงครามด้วย ท่านได้ต้อนฝูงสัตว์ที่จะเชือดในการทำพิธีให้อยู่หน้าขบวน และพร้อมทั้งสวมชุดเอี๊ยะห์รามเพื่อทำอุมเราะฮ์ และเมื่อได้ทราบข่าวในระหว่างทางว่าชาวกุเรชเตรียมขัดขวางไม่ให้เข้ามักกะห์ และมีเจตนาที่จะทำสงคราม ท่านจึงเปลี่ยนเส้นทางเดินเพื่อหลบเลี่ยงการปะทะ จนเดินทางไปถึงที่ ฮุดัยบียะห์ และลงพัก ณ ที่นั้น ฮุดัยบียะห์นี้เอง ท่านนบีได้ส่งอุสมาน บิน อัฟฟาน เป็นตัวแทนเพื่อเจรจากับพวกกุเรช และพยายามที่จะให้พวกเขาเปิดเส้นทางให้บรรดามุสลิมเข้าสู่มัสยิดอัลฮะรอม และทำอุมเราะฮ์ แต่ว่าพวกกุเรชได้กักขังหน่วงเหนี่ยวอุสมาน แล้วปล่อยข่าวว่าได้ทำการสังหารอุสมานเสียแล้ว … Continued
มีนา คือ สถานที่ที่มีภูเขาล้อมรอบอยู่ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเมืองมักกะห์ ห่างจากมัสยิดอัลฮะรอมประมาณ 6 กิโลเมตร มีนาเป็นสถานที่ที่ใช้ในการประกอบพิธีฮัจย์ และเป็นสถานที่ที่ผู้ที่มาประกอบพิธีฮัจย์จะมาพำนักในวันตัรวียะห์ วันอีดอีดิ้ลอัฎฮา และวันตัชรีกทั้งสามวัน และมีนายังเป็นสถานที่ที่ใช้ในการขว้างเสาหินอีกด้วย ผู้ที่มาประกอบพิธีฮัจย์ จะต้องขว้างเสาหินทั้งสามต้น ณ ที่นี่ โดยในวันอีดอีดิ้ลอัฎฮา จะต้องขว้างเสาหินหนึ่งต้น ชื่อว่า ย่ามารอตุ้ลอากอบะห์ จำนวน 7 ก้อน และในวันตัชรีก จะต้องขว้างเสาหินทั้งสามต้น ต้นละ 7 ก้อน ทำไมถึงเรียกว่ามีนา เนื่องจากว่า มีนาเป็นสถานที่ที่รวมคนจำนวนมากไว้ ณ ที่แห่งนั้น และชาวอาหรับจะเรียกทุกสถานที่ที่มีการรวมตัวกันของคนว่า มีนา … Continued
มุซดะริฟะห์ เป็นสถานที่หนึ่งที่ถูบนับว่าเป็นสถานที่สำคัญในการประกอบพิธีฮัจย์ โดยผู้ที่ประกอบพิธีฮัจย์ จะต้องเก็บรวบรวมก้อนหินที่มุซดะริฟะห์จำนวน 70 ก้อน เพื่อไปขว้างเสาหินที่มีนา และผู้ที่ประกอบพิธีฮัจย์จะต้องพำนักอยู่ ณ ที่นั้น จนกระทั่งเวลาก้าวเข้าสู่เที่ยงคืนของวันอีดอีดิ้ลอัฎฮา และการพำนักที่มุซดะริฟะห์นั้นเป็นวายิบสำหรับบุคคลใดที่ละทิ้ง เขาจะต้องเสียค่าปรับ(ดัม) และสนับสนุนให้ดำเนินตามท่านนบีมูฮัมมัดในการพำนักอยู่ ณ ที่นั้นจนกระทั่งถึงเวลาซุบฮิ แล้วถึงเดินทางไปยังมีนา เป็นที่อนุญาตสำหรับผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอและสำหรับผู้หญิง ที่จะออกเดินทางสู่มีนาก่อนที่ดวงอาทิตย์ขึ้น และในมุซดะริฟะห์ยังมีมัสยิดที่สำคัญอีกหนึ่งแห่งชื่อ มัสยิดนามีเราะห์เป็นสถานที่ซึ่งที่ ท่านนบีมูฮัมมัดพำนักอยู่ ณ ที่นั้น … Continued
อารอฟะห์ คือ ภูเขาที่ตั้งอยู่ห่างจากนครมักกะห์ประมาณ 22 กิโลเมตร และห่างจากมีนาประมาน 10 กิโลเมตร และห่างจากมุซดะริฟะห์ประมาน 6 กิโลเมตร เป็นสถานที่ที่สำคัญที่สุด ในการใช้ประกอบพิธีฮัจย์ ซึ่งถูกเรียกว่า การวุกูฟ การวุกูฟที่อารอฟะห์จะเกิดขึ้นในวันที่ 9 ซุ้ลฮิจยะห์ และการวุกุฟที่อารอฟะห์ถูกนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการประกอบพิธีฮัจย์ เสมือนกันที่ท่านนบีกล่าวว่า ฮัจย์คือการวุกูฟที่อารอฟะห์ อารอฟะห์ แปลว่า การทำความรู้จัก และผู้คนที่หลั่งไหลมาจากทั่วทิศรอบโลกมาทำความรู้จักกันในสถานที่นั้น จึงเป็นสาเหตุที่มีชื่อเรียกว่า อารอฟะห์ และในอารอฟะห์ยังมีมัสยิดที่มีความสำคัญอยู่ ชื่อมัสยิดนามีเราะห์ เป็นสถานที่ที่ท่านบีมูฮัมมัดกล่าวคุตบะห์ในวันวุกูฟ ณ ที่นั้น … Continued